สถาบันผลิตพยาบาลชั้นนํา 1 ใน 100 ของเอเซียที่เน้นการพยาบาลแบบพหุวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
ชื่อหลักสูตร :
ภาษาไทย: หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Pediatric Nursing
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา :
ชื่อปริญญาภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเด็ก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science (Pediatric Nursing)
อักษรย่อภาษาไทย: พย.ม. (การพยาบาลเด็ก)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: M.N.S. (Pediatric Nursing)
วัตถุประสงค์ :
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้ 1. ปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะสาขาการพยาบาลเด็ก โดยบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาลเด็กและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลเด็กและครอบครัว ตั้งแต่ภาวะสุขภาพปกติ เสี่ยง เจ็บป่วยเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งที่โรงพยาบาล บ้าน และชุมชน 2. วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาสุขภาพเด็กที่มีความซับซ้อนได้ 3. วิจัย ประเมินงานวิจัย และนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเด็กและระบบบริการพยาบาลเด็กได้ 4. จัดบริการพยาบาลสุขภาพแบบองค์รวมแก่เด็กและครอบครัว ให้ครอบคลุมทุกมิติการดูแลสุขภาพและเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง 5. พัฒนาตนเอง เรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถสร้างผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านการพยาบาลเด็ก 6. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน มีจิตบริการ และมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพและสังคม 7. มีความเป็นผู้นำองค์กรหรือผู้นำทีมการพยาบาล มีทักษะด้านการสื่อสารและการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน :
- วันและเวลาราชการปกติ - นอกวัน-เวลาราชการ (วันเสาร์และวันอาทิตย์)
หลักสูตร
1. จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า
36 หน่วยกิต
2. โครงสร้างหลักสูตร แผน ก แบบ ก 2
วิชาแกน
9 หน่วยกิต
วิชาเฉพาะ
12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์
3. รายวิชา
3.1 วิชาแกน
10750160
ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาลNursing Theory and Concepts
2(2-0-4)
10750260
สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางการพยาบาลApplied Statistics for Nursing Research
10750360
นโยบายและระบบสุขภาพ Policy and Health System
10750460
การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาลNursing Research and Research Utilization
3(3-0-6)
3.2 วิชาเฉพาะ
10850160
พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาเพื่อการพยาบาลเด็กขั้นสูงPathophysiology and Pharmacology for Advanced Pediatric Nursing
10850260
การพยาบาลเด็กขั้นสูง 1Advanced Pediatric Nursing I
10850360
ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 1Advanced Pediatric Nursing Practicum I
3 (0-9-3)
10850460
การพยาบาลเด็กขั้นสูง 2Advanced Pediatric Nursing II
10860560
ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 2Advanced Pediatric Nursing Practicum II
3(0-9-3)
3.2 หมวดวิชาเลือก
ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
10860660
สัมมนาวิจัยทางการพยาบาลเด็กขั้นสูงResearch Seminar for Advanced Pediatric Nursing
3 (3-0-6)
10860760
การพยาบาลเด็กป่วยและครอบครัวNursing Care for children and families experiencing Illness
3(2-3-4)
3.3 หมวดวิทยานิพนธ์
10869960
วิทยานิพนธ์Thesis
12(0-0-36)
รหัส
ชื่อรายวิชา
หน่วยกิต
ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล Nursing Theory and Concepts
2 (2-0-4)
พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาเพื่อการพยาบาลเด็กขั้นสูง Pathophysiology and Pharmacology for Advanced Pediatric Nursing
การพยาบาลเด็กขั้นสูง 1 Advanced Pediatric Nursing I
จำนวนหน่วยกิตรวม (Total)
8
การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล Nursing Research and Research Utilization
ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 1 Advanced Pediatric Nursing Practicum I
การพยาบาลเด็กขั้นสูง 2 Advanced Pediatric Nursing II
10
ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 2 Advanced Pediatric Nursing Practicum II
1086XXXX
วิชาเลือก
วิทยานิพนธ์ Thesis
6(0-0-18)
12
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย (Second Year, Second Semester)
6 (0-0-18)
6
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes: ELOs)
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1 สามารถให้เหตุผลและตัดสินเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 1.2 สามารถจัดการปัญหาทางจริยธรรมและข้อโต้แย้ง โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น 1.3 มีจริยธรรมในการทำวิจัยและงานวิชาการ 1.4 เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้มีจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติการพยาบาล 1.5 ชี้นำความถูกต้อง หยิบยกปัญหาจริยธรรม เพื่อให้เกิดการแก้ไข และสื่อความคิดที่ดีงามให้กับสังคม 1.6 สามารถปกป้องสิทธิของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการสุขภาพ
2. ด้านความรู้
2.1 มีความรอบรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเนื้อหาสาระของศาสตร์ทางการพยาบาลและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สามารถนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ และการปฏิบัติทางการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวม 2.2 มีความรู้ทางวิทยาการที่ทันสมัยในการพยาบาลเฉพาะสาขาวิชาที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง 2.3 สามารถใช้ผลการวิจัยในการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะสาขาวิชา 2.4 สามารถประยุกต์ความรู้ในเรื่องต่างวัฒนธรรมในการให้การพยาบาลผู้ป่วยและผู้ใช้บริการ
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาล และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะสาขาวิชา 3.2 สามารถบูรณาการความรู้จากทฤษฎีทางการพยาบาลศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานเชิงประจักษ์ในการให้การพยาบาลผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการอย่างเป็นองค์รวมหรือการบริหารจัดการ 3.3 สามารถคัดกรองสาระความรู้เพื่อการสอน หรือจัดให้มีการเรียนรู้ หรือให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย/ ผู้ใช้บริการ ญาติผู้ดูแล บุคลากรทางการพยาบาล ผู้ร่วมทีมสุขภาพอื่นๆ และประชาชนทั่วไป 3.4 มีความคิดริเริ่มในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์รูปแบบ/นวัตกรรม/แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย/ ผู้ใช้บริการ 3.5 สามารถวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการได้อย่างสร้างสรรค์ 3.6 สามารถดำเนินการโครงการสำคัญหรือโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาล 3.7 สามารถวิเคราะห์และคาด การณ์ประเด็นและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลในสาขาวิชาเฉพาะ
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพเชิงบำบัด โดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน เพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง 4.2 มีความสามารถในการบริหารจัดการ แก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ 4.3 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมทั้งวิชาชีพและสังคมได้อย่างต่อเนื่อง 4.4 แสดงออกซึ่งทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่ม 4.5 ประสานงานและร่วมทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ/ เครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 สามารถคัดกรองข้อมูลเชิงปริมาณและสถิติเพื่อนำมาใช้ ศึกษาค้นคว้า สรุปและเสนอแนะการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้านสุขภาพและการพยาบาล 5.2 สามารถสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไป 5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในการศึกษาด้วยตนเอง สื่อสารข้อมูล สารสนเทศ และผลการศึกษาค้นคว้าต่อนักวิชาการและสาธารณชน โดยผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพที่มีมาตรฐาน
Copyright © 2020