หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์



ชื่อหลักสูตร :

        ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์

        ภาษาอังกฤษ : Master of Nursing Science Program in Midwifery

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

        ชื่อปริญญาภาษาไทย : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์)

        ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Master of Nursing Science (Midwifery)

        อักษรย่อภาษาไทย : พย.ม. (การผดุงครรภ์)

        อักษรย่อภาษาอังกฤษ : M.N.S. (Midwifery)

ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

        มุ่งพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติให้เกิดประสบการณ์ที่เน้นสภาพแวดล้อมการทำงานจริง ให้เป็นผู้มีสมรรถนะที่สนองตอบการเปลี่ยนแปลงของโลก มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม สามารถเป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ปรัชญา

        การผดุงครรภ์เป็นศาสตร์และศิลป์ในการดูแลสุขภาพที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการด้านบริการสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ในระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด รวมถึงทารกแรกเกิด ครอบครัว และชุมชน ทั้งในภาวะปกติ ภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน การเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมการคลอดธรรมชาติ และการเตรียมความพร้อมในการเป็นบิดามารดา โดยบูรณาการศาสตร์ทางการผดุงครรภ์ ศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานเชิงประจักษ์ ดังนั้น การจัดการศึกษาในหลักสูตรพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของมหาบัณฑิตให้มีความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการศาสตร์ทางการผดุงครรภ์ การพยาบาล และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาทางการผดุงครรภ์ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัย และคำนึงถึงความหลายหลายทางด้านวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความเอื้ออาทร มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม และสามารถทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ เพื่อพัฒนาวิชาชีพและบริการสุขภาพให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

        เพื่อผลิตมหาบัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

        1. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

        2. มีความรอบรู้อย่างลึกซึ้งในสาระของศาสตร์ทางการผดุงครรภ์และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการผดุงครรภ์

        3. บูรณาการศาสตร์ทางการผดุงครรภ์และหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการดูแลสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์และครอบครัวตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ที่มีภาวะปกติและภาวะเสี่ยงสูง ในบริบทที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบจรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมาย

        4;. สามารถสร้างผลงานทางวิชาการ งานวิจัย หรือนวัตกรรมด้านการผดุงครรภ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการผดุงครรภ์

        5. สามารถใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาคุณภาพการผดุงครรภ์

        6. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีภาวะผู้นำ และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับ สหสาขาวิชาชีพ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการผดุงครรภ์

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 2

หมวดวิชาบังคับ

21 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก

ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

12 หน่วยกิต

โครงสร้างรายวิชา หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2

1. หมวดวิชาบังคับ (21 หน่วยกิต)

1.1 หมวดวิชาบังคับ วิชาแกน (9 หน่วยกิต)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง)

10750160

ทฤษฎี และแนวคิดทางการพยาบาล
Nursing Theory and Concepts

2(2-0-4)

10750260

สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Applied Statistics for Nursing Research

2(2-0-4)

10750360

นโยบายและระบบสุขภาพ
Policy and Health System

2(2-0-4)

10750460

การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล
Nursing Research and Research Utilization

3(3-0-6)

1.2 หมวดวิชาบังคับ วิชาเฉพาะสาขา (12 หน่วยกิต)

10250161

พยาธิสรีรวิทยาเพื่อการผดุงครรภ์
Pathophysiology for Midwifery

2(2-0-4)

10250261

การผดุงครรภ์ 1
Midwifery I

2(2-0-4)

10250361

การผดุงครรภ์ 2
Midwifery II

2(2-0-4)

10250461

ปฏิบัติการผดุงครรภ์ 1
Midwifery Practicum I

3(0-9-3)

10260561

ปฏิบัติการผดุงครรภ์ 2
Midwifery Practicum II

3(0-9-3)

2. วิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต)

10260661

สัมมนาวิจัยทางการผดุงครรภ์
Research Seminar in Midwifery

3(3-0-6)

10260761

การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการผดุงครรภ์
Evidence-Based Practice in Midwifery

3(3-0-6)

11160360

แนวคิดและบทบาทของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
Concept and Role of Advanced Nursing Practice

3(3-0-6)

11160460

หลักสูตรและการเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์
Curriculum and Teaching Learning in Nursing Science

3(3-0-6)

หมายเหตุ: นิสิตสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกที่เปิดสอนนอกหลักสูตรฯ ได้

3. วิทยานิพนธ์

10269961

วิทยานิพนธ์
Thesis

12(0-0-36)





วัน-เวลาการเรียน
          แบบเต็มเวลา เรียนวันและเวลาราชการปกติ (เป็นบางวัน)
          แบบไม่เต็มเวลา เรียนวันและนอกเวลาราชการ (วันเสาร์และวันอาทิตย์) และ เรียนวันและเวลาราชการปกติ (เป็นบางวัน)
คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าศึกษา
           1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางการพยาบาลหรือเทียบเท่า และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาการพยาบาล หรือสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง
          2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 2.50
          3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลหลังสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 1 ปี (นับถึงวันที่สมัคร)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา (แบบเหมาจ่าย)
แบบเต็มเวลา 132,000 บาท แบ่งชำระ 4 งวด แบ่งชำระเป็น
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 1 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 2 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 3 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 33,000 บาท
แบบไม่เต็มเวลา 165,000 บาท แบ่งชำระ 6 งวด แบ่งชำระเป็น
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 1 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 2 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 3 16,500 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 5 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 6 16,500 บาท


แผนการศึกษาแบบเต็มเวลา

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาบังคับ

10750160

ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Nursing Theory and Concepts

2(2-0-4)

10750260

สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Applied Statistics for Nursing Research

2(2-0-4)

10250161

พยาธิสรีรวิทยาเพื่อการผดุงครรภ์
Pathophysiology for Midwifery

2(2-0-4)

10250261

การผดุงครรภ์ 1
Midwifery I

2(2-0-4)

จำนวนหน่วยกิตรวม

8

ปีที่1 ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาบังคับ

10750360

นโยบายและระบบสุขภาพ
Policy and Health System

2(2-0-4)

10750460

การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล
Nursing Research and Research Utilization

3(3-0-6)

10250361

การผดุงครรภ์ 2
Midwifery II

2(2-0-4)

10250461

ปฏิบัติการผดุงครรภ์ 1
Midwifery Practicum I

3(0-9-3)

จำนวนหน่วยกิตรวม

10

ปีที่2 ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาบังคับ

10260561

ปฏิบัติการผดุงครรภ์ 2
Midwifery Practicum II

3(0-9-3)

วิชาเลือก

.............

วิชาเลือก

3(3-0-6)

วิทยานิพนธ์

10269961

วิทยานิพนธ์
Master Thesis

6(0-0-18)

จำนวนหน่วยกิตรวม

12

ปีที่2 ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

10269961

วิทยานิพนธ์
Master Thesis

6(0-0-18)

จำนวนหน่วยกิตรวม

6

 

 

 

 

 

 

แผนการศึกษาแบบไม่เต็มเวลา

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาบังคับ

10750160

ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Nursing Theory and Concepts

2(2-0-4)

10750260

สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Applied Statistics for Nursing Research

2(2-0-4)

10250161

พยาธิสรีรวิทยาเพื่อการผดุงครรภ์
Pathophysiology for Midwifery

2(2-0-4)

10250261

การผดุงครรภ์ 1
Midwifery I

2(2-0-4)

จำนวนหน่วยกิตรวม

8

ปีที่1 ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาบังคับ

10750360

นโยบายและระบบสุขภาพ
Policy and Health System

2(2-0-4)

10750460

การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล
Nursing Research and Research Utilization

3(3-0-6)

10250361

การผดุงครรภ์ 2
Midwifery II

2(2-0-4)

10250461

ปฏิบัติการผดุงครรภ์ 1
Midwifery Practicum I

3(0-9-3)

จำนวนหน่วยกิตรวม

10

ปีที่1 ภาคฤดูร้อน

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาบังคับ

10260561

ปฏิบัติการผดุงครรภ์ 2
Midwifery Practicum II

3(0-9-3)

จำนวนหน่วยกิตรวม

3

ปีที่2 ภาคการศึกษาต้น

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาเลือก

.............

วิชาเลือก

3(3-0-6)

วิทยานิพนธ์

10269961

10269961
Master Thesis

6(0-0-18)

จำนวนหน่วยกิตรวม

9

ปีที่2 ภาคการศึกษาปลาย

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

10269961

วิทยานิพนธ์
Master Thesis

6(0-0-18)

จำนวนหน่วยกิตรวม

6


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program learning outcomes: PLO)

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม

1) สามารถให้เหตุผลและตัดสินเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการผดุงครรภ์
2) สามารถจัดการปัญหาทางจริยธรรมและข้อโต้แย้ง โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น
3) มีจริยธรรมในการทำวิจัยและงานวิชาการ
4) เป็นแบบอย่างที่ดีของ ผู้มีจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติการผดุงครรภ์
5) ชี้นำความถูกต้อง หยิบยกปัญหาจริยธรรม เพื่อให้เกิดการแก้ไข และสื่อความคิดที่ดีงามให้กับสังคม
6) สามารถปกป้องสิทธิของผู้ป่วย หรือผู้ใช้บริการสุขภาพ

2. ด้านความรู้

1) ความรอบรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในศาสตร์ทางการผดุงครรภ์ สามารถนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ และการปฏิบัติทางการผดุงครรภ์อย่างเป็นองค์รวม
2) มีความรู้ทางวิทยาการที่ทันสมัยในการผดุงครรภ์อย่างลึกซึ้ง
3) สามารถใช้ผลการวิจัยในการปฏิบัติการผดุงครรภ์
4) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมในการดูแลสตรีวัยเจริญพันธุ์และครอบครัว

3. ด้านทักษะทางปัญญา

1) สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้จากศาสตร์ทางการผดุงครรภ์ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติการผดุงครรภ์
2) สามารถบูรณาการความรู้จากทฤษฎีทางการผดุงครรภ์ ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลสตรีวัยเจริญพันธุ์และครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม หรือการบริหารจัดการ
3) สามารถคัดกรองสาระความรู้เพื่อการสอน หรือจัดให้มีการเรียนรู้ หรือให้คำปรึกษาแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ ครอบครัว บุคลากรทางการพยาบาล ผู้ร่วมทีมสุขภาพอื่นๆ และประชาชนทั่วไป
4) มีความคิดริเริ่มในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์รูปแบบ/นวัตกรรม/แนวปฏิบัติในการดูแลสตรี วัยเจริญพันธุ์และครอบครัว
5) สามารถวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนของสตรีวัยเจริญพันธุ์และครอบครัวได้อย่างสร้างสรรค์
6) สามารถดำเนินการโครงการสำคัญ หรือโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการผดุงครรภ์
7) สามารถวิเคราะห์และคาดการณ์ประเด็นและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของความรู้และการปฏิบัติการผดุงครรภ์

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

1) มีความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพเชิงบำบัด โดยการมีส่วนร่วม ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ เพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง
2) มีความสามารถในการบริหารจัดการ แก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
3) มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมทั้งวิชาชีพและสังคมได้อย่างต่อเนื่อง
4) แสดงออกซึ่งทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่ม
5) ประสานงานและร่วมทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ/เครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง

5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1) สามารถคัดกรองข้อมูลเชิงปริมาณและสถิติเพื่อนำมาใช้ ศึกษาค้นคว้า สรุปและเสนอแนะการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางการผดุงครรภ์
2) สามารถสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไป
3) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในการศึกษาด้วยตนเอง สื่อสารข้อมูล สารสนเทศและ ผลการศึกษาค้นคว้าต่อนักวิชาการและสาธารณชน โดยผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมถึงสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพที่มีมาตรฐาน


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        1. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

        2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง

        3. คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 2.50

        4. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1

        5. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า1 ปี (นับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา)

        6. ในกรณีที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 1-5 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

สนใจเข้าศึกษาต่อ สามารถสมัครผ่านทาง Online ได้ที่ http://e-admission.buu.ac.th
หรือสมัครด้วยตนเองที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้น 7 อาคาร 50 ปี ศาสตราจารย์ประยูร จินดาประดิษฐ์
สอบถามข้อมูลการรับสมัครได้ที่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา โทร. 038-102700 ต่อ 705, 707
เว็บไซต์ http://grd.buu.ac.th/wordpress/
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการการศึกษา (บัณฑิตศึกษา) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โทร. 038-102836, 038-102875 Fax. 038-393476
เว็บไซต์ http://www.nurse.buu.ac.th
Facebook https://www.facebook.com/gradnursebuu