หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก


          

ชื่อหลักสูตร :

ภาษาไทย: หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก

ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Pediatric Nursing

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา :

ชื่อปริญญาภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเด็ก)

ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science (Pediatric Nursing)

อักษรย่อภาษาไทย: พย.ม. (การพยาบาลเด็ก)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ: M.N.S. (Pediatric Nursing)

วัตถุประสงค์ :

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้
1. ปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะสาขาการพยาบาลเด็ก โดยบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาลเด็กและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลเด็กและครอบครัว ตั้งแต่ภาวะสุขภาพปกติ เสี่ยง เจ็บป่วยเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งที่โรงพยาบาล บ้าน และชุมชน
2. วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาสุขภาพเด็กที่มีความซับซ้อนได้
3. วิจัย ประเมินงานวิจัย และนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเด็กและระบบบริการพยาบาลเด็กได้
4. จัดบริการพยาบาลสุขภาพแบบองค์รวมแก่เด็กและครอบครัว ให้ครอบคลุมทุกมิติ การดูแลสุขภาพและเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
5. พัฒนาตนเอง เรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถสร้างผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านการพยาบาลเด็ก
6. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน มีจิตบริการ และมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพและสังคม
7. มีความเป็นผู้นำองค์กรหรือผู้นำทีมการพยาบาล มีทักษะด้านการสื่อสารและการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล

หลักสูตร

1. จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า

36 หน่วยกิต

2. โครงสร้างหลักสูตร แผน ก แบบ ก 2

วิชาแกน

9 หน่วยกิต

วิชาเฉพาะ

12 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

3 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

12 หน่วยกิต

3. รายวิชา

3.1 วิชาแกน

9 หน่วยกิต

10750160

ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Nursing Theory and Concepts

2(2-0-4)

10750260

สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Applied Statistics for Nursing Research

2(2-0-4)

10750360

นโยบายและระบบสุขภาพ
Policy and Health System

2(2-0-4)

10750460

การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล
Nursing Research and Research Utilization

3(3-0-6)

3.2 วิชาเฉพาะ

12 หน่วยกิต

10850160

พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาเพื่อการพยาบาลเด็กขั้นสูง
Pathophysiology and Pharmacology for Advanced Pediatric Nursing

2(2-0-4)

10850260

การพยาบาลเด็กขั้นสูง 1
Advanced Pediatric Nursing I

2(2-0-4)

10850360

ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 1
Advanced Pediatric Nursing Practicum I

3 (0-9-3)

10850460

การพยาบาลเด็กขั้นสูง 2
Advanced Pediatric Nursing II

2(2-0-4)

10860560

ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 2
Advanced Pediatric Nursing Practicum II

3(0-9-3)

3.2 หมวดวิชาเลือก

ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

10860660

สัมมนาวิจัยทางการพยาบาลเด็กขั้นสูง
Research Seminar for Advanced Pediatric Nursing

3 (3-0-6)

10860760

การพยาบาลเด็กป่วยและครอบครัว
Nursing Care for children and families experiencing Illness

3(2-3-4)

3.3 หมวดวิทยานิพนธ์

12 หน่วยกิต

10869960

วิทยานิพนธ์
Thesis

12(0-0-36)

วัน-เวลาการเรียน
          แบบเต็มเวลา          เรียนวันและเวลาราชการปกติ (เป็นบางวัน)
         แบบไม่เต็มเวลา       เรียนวันและนอกเวลาราชการ (วันเสาร์และวันอาทิตย์) และ
เรียนวันและเวลาราชการปกติ (เป็นบางวัน)
คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าศึกษา
          1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางการพยาบาลหรือเทียบเท่า และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาการพยาบาล หรือสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง
          2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 2.50
          3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลหลังสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 1 ปี (นับถึงวันที่สมัคร)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา (แบบเหมาจ่าย)
แบบเต็มเวลา 132,000 บาท แบ่งชำระ 4 งวด แบ่งชำระเป็น
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 1 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 2 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 3 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 33,000 บาท
แบบไม่เต็มเวลา 165,000 บาท แบ่งชำระ 6 งวด แบ่งชำระเป็น
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 1 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 2 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 3 16,500 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 5 33,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมงวดที่ 6 16,500 บาท

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น (First Year, First Semester)

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาแกน

10750160

ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Nursing Theory and Concepts

2(2-0-4)

วิชาแกน

10750260

สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Applied Statistics for Nursing Research

2(2-0-4)

วิชาเฉพาะ

10850160

พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาเพื่อการพยาบาลเด็กขั้นสูง
Pathophysiology and Pharmacology for Advanced Pediatric Nursing

2(2-0-4)

วิชาเฉพาะ

10850260

การพยาบาลเด็กขั้นสูง 1
Advanced Pediatric Nursing I

2(2-0-4)

จำนวนหน่วยกิตรวม

8

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย (First Year, Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาแกน

10750360

นโยบายและระบบสุขภาพ
Policy and Health System

2(2-0-4)

วิชาแกน

10750460

การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล
Nursing Research and Research Utilization

3(3-0-6)

วิชาเฉพาะ

10850360

ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 1
Advanced Pediatric Nursing Practicum I

3(0-9-3)

วิชาเฉพาะ

10850460

การพยาบาลเด็กขั้นสูง 2
Advanced Pediatric Nursing II

2(2-0-4)

จำนวนหน่วยกิตรวม

10

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น (Second Year, First Semester)

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาเฉพาะ

10860560

ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 2
Advanced Pediatric Nursing Practicum II

3(0-9-3)

วิชาเลือก

1086XXXX

วิชาเลือก

3(3-0-6)

วิทยานิพนธ์

10869960

วิทยานิพนธ์
Thesis

6(0-0-18)

จำนวนหน่วยกิตรวม

12

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย (Second Year, Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

10869960

วิทยานิพนธ์
Thesis

6(0-0-18)

จำนวนหน่วยกิตรวม

6


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program learning outcomes: PLO)

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม

PLO 1.1 แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรม จริยธรรมการวิจัย จริยธรรมเชิงวิชาการ
PLO 1.2 สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และมาตรฐานวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการ
PLO 1.3 ให้คำปรึกษาและชี้แนะทางกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพพิทักษ์สิทธิเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการ

2. ด้านความรู้

PLO 2.1 อธิบายในศาสตร์การพยาบาลเด็กและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง รวมทั้งกระบวนการวิจัยและสถิติ
PLO 2.2 วิเคราะห์อย่างลึกซึ้งในศาสตร์การพยาบาลเด็กและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง รวมทั้งกระบวนการวิจัยและสถิติ

3. ด้านทักษะทางปัญญา

PLO 3.1 สามารถคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
PLO 3.2 สามารถบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลเด็กและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักฐานเชิงประจักษ์ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการดูแลผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการที่มีปัญหาซับซ้อนหรือปัญหาที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น
PLO 3.3 เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่เหมาะสม
PLO 3.4 สามารถจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาลและระบบสุขภาพ พัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการและครอบครัวให้สามารถประเมินและจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO 3.5 เป็นพี่เลี้ยงหรือต้นแบบในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง
PLO 3.6 ประยุกต์หลักการด้านคุณภาพและความปลอดภัยมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบ
PLO 3.7 สามารถวิเคราะห์และประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการดูแลสุขภาพทางเลือกมาใช้
PLO 3.8 สามารถทำวิจัย/ โครงการ/ สร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเด็ก

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

PLO 4.1 แสดงภาวะผู้นำ สามารถริเริ่มการเปลี่ยนแปลง ทำงานร่วมกับทีมสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้อง
PLO 4.2 มีความไวเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการ
PLO 4.3 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองรวมทั้งวิชาชีพและสังคมได้อย่างต่อเนื่อง
PLO 4.4 มีความภาคภูมิใจและสร้างคุณค่าของวิชาชีพ สร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ

5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

PLO 5.1 มีทักษะขั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล และวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพการพยาบาลเด็ก
PLO 5.2 วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อการติดตามเฝ้าระวังและการจัดการกับความเสี่ยง
PLO 5.3 สามารถติดต่อสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกับผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ทีมพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ
PLO 5.4 เผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในและนอกองค์กรอย่างมีมาตรฐาน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program learning outcomes: PLO)

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม

PLO 1.1 แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรม จริยธรรมการวิจัย จริยธรรมเชิงวิชาการ
PLO 1.2 สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และมาตรฐานวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการ
PLO 1.3 ให้คำปรึกษาและชี้แนะทางกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพพิทักษ์สิทธิเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการ

2. ด้านความรู้

PLO 2.1 อธิบายในศาสตร์การพยาบาลเด็กและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง รวมทั้งกระบวนการวิจัยและสถิติ
PLO 2.2 วิเคราะห์อย่างลึกซึ้งในศาสตร์การพยาบาลเด็กและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง รวมทั้งกระบวนการวิจัยและสถิติ

3. ด้านทักษะทางปัญญา

PLO 3.1 สามารถคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
PLO 3.2 สามารถบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลเด็กและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักฐานเชิงประจักษ์ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการดูแลผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการที่มีปัญหาซับซ้อนหรือปัญหาที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น
PLO 3.3 เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่เหมาะสม
PLO 3.4 สามารถจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาลและระบบสุขภาพ พัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการและครอบครัวให้สามารถประเมินและจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO 3.5 เป็นพี่เลี้ยงหรือต้นแบบในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง
PLO 3.6 ประยุกต์หลักการด้านคุณภาพและความปลอดภัยมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบ
PLO 3.7 สามารถวิเคราะห์และประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการดูแลสุขภาพทางเลือกมาใช้
PLO 3.8 สามารถทำวิจัย/ โครงการ/ สร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเด็ก

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

PLO 4.1 แสดงภาวะผู้นำ สามารถริเริ่มการเปลี่ยนแปลง ทำงานร่วมกับทีมสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้อง
PLO 4.2 มีความไวเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยเด็กหรือผู้รับบริการ
PLO 4.3 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองรวมทั้งวิชาชีพและสังคมได้อย่างต่อเนื่อง
PLO 4.4 มีความภาคภูมิใจและสร้างคุณค่าของวิชาชีพ สร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ

5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

PLO 5.1 มีทักษะขั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล และวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพการพยาบาลเด็ก
PLO 5.2 วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อการติดตามเฝ้าระวังและการจัดการกับความเสี่ยง
PLO 5.3 สามารถติดต่อสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกับผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ทีมพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ
PLO 5.4 เผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในและนอกองค์กรอย่างมีมาตรฐาน



สนใจเข้าศึกษาต่อ สามารถสมัครผ่านทาง Online ได้ที่ http://e-admission.buu.ac.th
หรือสมัครด้วยตนเองที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้น 7 อาคาร 50 ปี ศาสตราจารย์ประยูร จินดาประดิษฐ์
สอบถามข้อมูลการรับสมัครได้ที่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา โทร. 038-102700 ต่อ 705, 707
เว็บไซต์ http://grd.buu.ac.th/wordpress/
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการการศึกษา (บัณฑิตศึกษา) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โทร. 038-102836, 038-102875 Fax. 038-393476
เว็บไซต์ http://www.nurse.buu.ac.th
Facebook https://www.facebook.com/gradnursebuu